รางวัลที่นักเรียนและอาจารย์ที่ปรึกษาได้รับ ได้แก่

การแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ รายการที่ 1

นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) ได้รับคัดเลือกและสนับสนุนงบประมาณจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการร่วมการแข่งขันโครงงาน/นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ในระดับนานาชาติ

โครงงานเรื่อง:การศึกษาการเลียนแบบพฤติกรรมการสื่อสารด้วยการกระพริบแสงในหิ่งห้อยสายพันธุ์ Abscondita terminalis (Olivier, 1833) เพื่อการเพิ่มประชากรหิ่งห้อยในพื้นที่อนุรักษ์” (Imitation Flash Communication Pattern Behavior in Firefly, Abscondita terminal (Olivier, 1833), for Increasing Firefly Populations in Conservation Areas.

วันที่ 31 พฤษภาคม – 7 มิถุนายน 2567  เข้าร่วมการแข่งขันโครงงานนวัตกรรม ในงาน Young Inventors Challenge (YIC) 2023  จัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาเลเซีย (The Association of Science Technology and Innovation: ASTI)  แบบออนไลน์  และได้รับการคัดเลือกผ่านเข้ารอบสุดท้าย ของ YIC 2023 Shortlisted Teams

วันที่ 28 - 30 พฤศจิกายน 2566   เข้าร่วมนำเสนอผลงานในงาน "The 4th ASEAN - India Grassroot Innovation Forum (AIGIF 2023)"  เพื่อส่งเสริมมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระดับรากหญ้า (Grassroots Innovations) ภายในภูมิภาคอาเซียนและประเทศอินเดีย จัดโดย คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอาเซียน (COSTI) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (DST) ของรัฐบาลอินเดีย และมูลนิธินวัตกรรมแห่งชาติ ( NIF) อินเดีย  ณ เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย 

วันที่ 1-4 กรกฎาคม 2566   เข้าร่วมการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 9  (The 9th ASEAN Student Science Project Competition, ASPC 2023)  ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ, ประเทศไทย เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างเยาวชนและครูในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน

รางวัลที่ได้รับ รางวัล First Prize of Biological Science Category รางวัล Project of the Year 2023

วันที่ 10 มกราคม 2567  กระทรวงศึกษาธิการ ได้พิจารณามอบโล่รางวัลเด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ  ด้านวิชาการ  ประจำปี 2567  เนื่องในงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567  สำหรับนักเรียนกลุ่มนี้ โดยนักเรียนได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี และรับมอบโล่รางวัล ณ ตึกสันติไมตรี  ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร

นักเรียนผู้พัฒนาโครงงาน

1. นางสาวอาภรพัฒน์ ธารเลิศ      นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

2. นายบวรชัย สุขชัยบวร             นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

3. นายศุภกฤติ  สิริแก้วสกุล          นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

อาจารย์ที่ปรึกษา อ.ดร.ประเทืองสุข มณีล้ำ อาจารย์อนิสรา บุญสด และอาจารย์อลงกต ปีกลม 

การแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ รายการที่ 2

วันที่ 15-19 พฤศจิกายน 2566  ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ในกิจกรรมค่ายเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์แห่งชาติ ครั้งที่ 19  ระดับประเทศ จัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สาขากายภาพ  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โครงงานเรื่อง : เซนเซอร์วัดสีอย่างง่ายโดยใช้อนุภาคนาโนทองคําสําหรับตรวจวัดไอออนไนไตรต์ ด้วยสมาร์ทโฟน (A simple colorimetric sensor using gold nanoparticles for determination of nitrite ion with smartphone)

วันที่ 20-20 ธันวาคม 2566  ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการ Thailand – Japan Student Science Fair 2023 (TJ-SSF 2023)  ณ  โรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย  จังหวัดเลย

รางวัลที่ได้รับ รางวัลเชิดชูเกียรติ

นักเรียนผู้พัฒนาโครงงาน

1. นายอรรถพล แซ่อัง                 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

2. นางสาวสินีนภัสร  ศรีอุดร         นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

อาจารย์ที่ปรึกษา ดร. เกษรินทร์ งามดี ภาควิชาเคมี  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลยขอนแก่น และอาจารย์สุรเชษฐ์  สันต์สวัสดิ์


 

การแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับชาติ รายการที่ 1

วันที่ 15-19 พฤศจิกายน 2566  ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ในกิจกรรมค่ายเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์แห่งชาติ ครั้งที่ 19 ระดับประเทศ จัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)  สาขาชีวภาพ  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โครงงานเรื่อง : การศึกษาชีววิทยา และการพัฒนาการเลี้ยงแมลงดานา (Lethocerus indicus Lep.-Serv.) เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและยกระดับสู่การเป็นแมลงเศรษฐกิจในตลาดโลก

รางวัลที่ได้รับ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1

นักเรียนผู้พัฒนาโครงงาน

เด็กชายกษิเดช               ศรีสุข นักเรียน     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

เด็กหญิงกนกพิชญ์          นาบุดดา            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

เด็กหญิงพชรกาญจน์       ยืนยง                ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์กุลธิดา ทองนำ  และอาจารย์วชุติกา ศรีสวัสดิ์

การแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับชาติ รายการที่ 2

วันที่ 15-19 พฤศจิกายน 2566  ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ในกิจกรรมค่ายเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์แห่งชาติ ครั้งที่ 19  ระดับประเทศ จัดโดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สาขาชีวภาพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  ณ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โครงงานเรื่อง : การศึกษาชีววิทยาและการพัฒนาการเลี้ยงแมลงมัน สู่การเป็นอาหารโปรตีนทางเลือกอนาคตจากแมลงกินได้ให้เกิดความยั่งยืน (Study of biology and development of Subterranean ants (Carebara castanea Smith,1858) farming towards becoming a future alternative protein food from edible insects that is sustainable.)      

รางวัลที่ได้รับ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2

นักเรียนผู้พัฒนาโครงงาน

นางสาวบัญฑิตา นารีคำ   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

นางสาวสุธาสินี อุทัยกัน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

นายแทนคุณ จันมะโฮง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4       

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.ประเทืองสุข  มณีล้ำ และอาจารย์อนิสรา บุญสด

 

การแข่งขันประกวดผลงานนวัตกรรมระดับชาติ รายการที่ 1

การประกวดผลงานนวัตกรรมระดับชาติ GPAS 5 Steps สำหรับเยาวชนผู้นำการเปลี่ยนแปลง Youth-Change Agents: GPAS 5 Steps Innovation Competition 2023 จัดโดยสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) และ 8 มหาวิทยาลัย  ณ อาคารรักตะกนิษฐ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

โดยได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2  จากนวัตกรรมเรื่อง เครื่องเพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตของพืชนอกฤดู

นักเรียนที่ได้รับรางวัล

         นางสาวธัญญ์ภคพร  ทีฆวิวรรธน์

         นายธีรพงษ์  สาภูงา

         นายปวริศร์  แพงมา

อาจารย์ที่ปรึกษา อ.จุฬารัตน์  สียา 

 

การแข่งขันประกวดผลงานนวัตกรรมระดับชาติ รายการที่ 2

นักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ สาธิตมอดินแดง คว้า 2 ถ้วยรางวัล I-New Gen Award 2024 สุดยอด! นักประดิษฐ์

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง)

ได้คว้าถ้วยรางวัลชนะเลิศ และถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม Thailand New Gen Inventors Award 2024 (I-New Gen Award 2024) “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2567 ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 25 โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ประธานในพิธีเปิดโดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้ทำการประกวดและจัดนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ตั้งแต่วันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2567 ณ Event Hall 100 – 102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร ในปีนี้คัดเลือกผลงานจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จากทั่วประเทศกว่า 1,000 ผลงาน 330 สถาบัน และผ่านการพิจารณาคัดเลือกเพื่อนำผลงานมาจัดแสดงภายในงานวันนักประดิษฐ์ จำนวน 650 ผลงาน ซึ่งนอกจากจัดแสดงผลงานในนิทรรศการแล้ว ทุกทีมจะต้องขึ้นเวทีเพื่อนำเสนอแนวคิด วิธีการ เทคนิคต่าง ๆ ของสิ่งประดิษฐ์ ต่อคณะกรรมการอีกด้วย มอบรางวัลโดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

โดยโรงเรียนฯ ได้รับรางวัลในประเภท ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มการเกษตร ดังนี้

รางวัลชนะเลิศ ประเภทเหรียญทอง

- รางวัลชนะเลิศ ประเภทเหรียญทอง : เรื่อง ชุดแขนกลแบบติดตั้งกับอากาศยานไร้คนขับเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งได้รับถ้วยรางวัลชนะเลิศ เหรียญรางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัลจำนวน 50,000 บาท

     ผู้จัดทำ : นางสาววรินทร ฉายจิตร นางสาวอรนลิน ดีมานพ และนายจักรพงศ์ สียา

     อาจารย์ที่ปรึกษา : นางสาวกุลธิดา ทองนำ นายไชยเดช แก้วสง่า และนายศิริชัย ตั้งตระกูล

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ประเภทเหรียญทอง

- รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ประเภทเหรียญทอง : เรื่อง “รถอเนกประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานสำหรับการดูแลพื้นที่เกษตรกรรม โดยใช้ระบบนำทางด้วยดาวเทียม (GPS) และระบบการทำงานแบบ Autopilot” ซึ่งได้รับถ้วยรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 เหรียญรางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัลจำนวน 30,000 บาท

     ผู้จัดทำ : นางสาวกมลธิดา สูงภูเขียว นางสาวศรัณย์พร บุญชาญ นายธนภัทร์ พวกพระลับ นายภัทรพล ศรีเมฆ และนายญาณาธร พลขวา

     อาจารย์ที่ปรึกษา : นายไชยเดช แก้วสง่า นางสาวกุลธิดา ทองนำ และนายคุณากร ตั้งตระกูล

รางวัลเหรียญทอง

- รางวัลเหรียญทอง : เรื่องเครื่องเพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตของพืชนอกฤดู

     ผู้จัดทำ : นายธีรพงษ์ สาภูงา นางสาวธัญญ์ภคพร ทีฆวิวรรธน์ นายปวริศร์ แพงมา

     อาจารย์ที่ปรึกษา : นางสาวจุฬารัตน์ สียา นายศิริชัย ตั้งตระกูล นายธัญกร สุทธิประภา

 

รางวัลนวัตกรรม บอร์ดเกมส์

รางวัลนวัตกรรม บอร์ดเกมส์

รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จากการแข่งขันผลงานนวัตกรรมระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับประเทศ ผลงาน ด้วยผลงานกิจกรรมเสริมสร้างความรู้เรื่องมะเร็งท่อน้ำดีด้วยนวัตกรรมบอร์ดเกม Bile duct cancer survivor

จากการเข้าร่วมนำผลงาน กิจกรรมเสริมสร้างความรู้เรื่องมะเร็งท่อน้ำดีด้วยนวัตกรรมบอร์ดเกม Bile duct cancer survivor เข้าร่วมการประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ Prime Minister's Award for Health Promotion Innovation 2023 ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ อิมแพ็คฟอรั่ม 4 เมืองทองธานี

โดยมีผู้จัดทำ ได้แก่ ทีม SMD GEN2
- นางสาวฐิติพร ศรีพระธาตุ
- นางสาวพิชามญชุ์ ศิริวงศ์
- นางสาวถาวรีย์ พลคำแก้ว
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นิมิตตรา ปะการะโต

รางวัลนวัตกรรมเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.ศักดิ์สิทธิ์ หัสมินทร์ อาจารย์สุรเชษฐ์ สันต์สวัสดิ์ อาจารย์จุฬารัตน์ สียา และอาจารย์นิมิตตรา ปะการะโต ที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมเพื่อสังคม ด้านการศึกษาและวิชาการ ด้วยผลงาน : นวัตกรรมบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ ในงาน 60 ปี แห่งการสร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อสังคม เมื่อวันที่ 22-24 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งงานนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนการสร้างสรรค์นวัตกรรม เทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ เพื่อประกาศเกียรติคุณ ยกย่อง สร้างแรงจูงใจ และเป็นขวัญกำลังใจ แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีผลงานนวัตกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง ประโยชน์ต่อวงวิชาการ และสร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

รางวัลชนะเลิศ ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย  Prime Minister's Award for Health Promotion Innovation 2022

โครงการต่อยอดผลงานนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ จากการประกวด Prime Minister's Award for Health Promotion Innovation 2021-2022 ของน้องๆ เยาวชน โครงการต่อยอดผลงานนวัตกรรมฯ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนไอเดียและผลงานของน้องๆ ให้สามารถพัฒนาสู่การนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง หรือขยายผลสู่สังคมในวงกว้างได้มากยิ่งขึ้น! ผลงานของน้องๆ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา (ปวช.) จากการประกวดในปี 2021 และ 2022 ที่ได้เข้าร่วมโครงการกับเรา
ผลงาน บอร์ดเกม Just Say No โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง)

รางวัลเหรียญทอง ในรายการ GPSC YOUNG SOCIAL INNOVATOR

นวัตกรรมบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ บอร์ดเกมเมืองรักษ์โลก (ECO LAND)

นักเรียนผู้พัฒนานวัตกรรม ได้แก่ นางสาวณิชชาวีณ์ จิรวัชรีพงศ์ นางสาวกัญจนพร หาญเชิงชัย และนางสาวสุจิรา เพิ่มสนาม

โดยมี อาจารย์ ดร.ศักดิ์สิทธิ์ หัสมินทร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

[ถอดบทเรียน EP.1] บอร์ดเกม แค่ความสนุก หรือเกิดการเรียนรู้ ?
โดย อ.ดร. ศักสิทธิ์ หัสมินทร์
บอร์ดเกม เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่ง ที่ "เกม" เป็นได้มากกว่าเกม เมื่อครูผู้สอนใช้ให้ถูกที่ถูกเวลา จะทำให้เด็กเกิดองค์ความรู้ และได้ความสนุกได้ในคราวเดียวกัน พบกับเรื่องราวและประสบการณ์ ของอ.ดร. ศักสิทธิ์ หัสมินทร์ ที่ได้ถ่ายทอดออกมาผ่านมุมมองการทำบอร์ดเกมที่คุณอาจคาดไม่ถึง
Video Creator: เพชร เฮ็ด เพลง

 

ทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญ ปีพ.ศ. 2563

ผลงานนวัตกรรมที่ได้รับการเผยแพร่ ได้รับการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร การจดทะเบียน สิ่งค้นพบใหม่ ๆ เช่น สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม เป็นต้น

ทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญ ปีพ.ศ. 2564

ทรัพย์สินทางปัญญาที่สำคัญ ปีพ.ศ. 2565 - 2566

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

นับเป็นความภาคภูมิใจที่นักเรียนและคณาจารย์โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) ได้หล่อหลอมองค์ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ จนได้รับรางวัลเป็นที่ประจักษ์ อันเป็นแบบอย่างที่ดีและแรงบันดาลใจต่อไป

 

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง)
123 หมู่ 16 ถนนมิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

website : https://smd.satit.kku.ac.th

Facebook : สาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง)

YouTube : SMD CHANNEL

โทรศัพท์ /โทรสาร 043-202702